4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
การศึกษา
โรงเรียนที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล 8 แห่ง
โรงเรียนบ้านเมืองกื้ด หมู่ที่ 1
โรงเรียนบ้านแม่ตะมาน หมู่ที่ 2
โรงเรียนบ้านต้นขาม หมู่ที่ 4
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไลออนส์มหาจักร 9 หมู่ที่ 7
ศูนย์การเรียนรู้แม่ฟ้าหลวงบ้านป่าไม้แดง หมู่ที่ 7
ศูนย์การเรียนรู้แม่ฟ้าหลวงบ้านทุ่งยั๊วะ หมู่ที่ 3
ศูนย์การเรียนรู้แม่ฟ้าหลวงบ้านผาแดง หมู่ที่ 1
ศูนย์การเรียนรู้แม่ฟ้าหลวงบ้านห้วยกุ๊บกั๊บ หมู่ที่ 1
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5 แห่ง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเมืองกื้ด หมู่ที่ 1
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่ตะมาน (สาขา) หมู่ที่ 2
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าข้าวหลาม (สาขา) หมู่ที่ 7
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผาปู่จอม (สาขา) หมู่ที่ 8
โรงเรียนอนุบาล 2 แห่ง
โรงเรียนอนุบาล อบต.กื้ดช้าง 1 (บ้านเมืองกื้ด) หมู่ที่ 1
โรงเรียนอนุบาล อบต.กื้ดช้าง 2 (บ้านแม่ตะมาน) หมู่ที่ 2
แหล่งข้อมูลข่าวสาร 15 แห่ง
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง
หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน 9 แห่ง
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร 1 แห่ง
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนเชิงคุณธรรม 1 แห่ง
ศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ 1 แห่ง
ศูนย์ไอซีทีตำบล 1 แห่ง
ศูนย์ข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่น -อพ.สธ.ตำบลกื้ดช้าง 1 แห่ง
4.2 สาธารณสุข
สถานพยาบาล 1 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หมู่ที่ 2
บุคลากร ประกอบด้วย
พยาบาลวิชาชีพ 1 คน
เจ้าพนักงานสาธารณสุข 2 คน
พนักงานบันทึกข้อมูล 1 คน
พนักงานผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 1 คน
ลูกจ้างชั่วคราว 1 คน
สถิติผู้ป่วยนอก ปี 2558 จำนวน 5,486 คน
สาเหตุการเจ็บป่วย
ลำดับที่ 1 ระบบหายใจ 1,585 คน
ลำดับที่ 2 ไม่สามารถจำแนกได้ 1,016 คน
ลำดับที่ 3 ระบบกล้ามเนื้อ 918 คน
ลำดับที่ 4 ระบบย่อยอาหาร 667 คน
ลำดับที่ 5 ระบบไหลเวียนเลือด 591 คน
อื่นๆ โดยรวม 1,284 คน
สถานพยาบาลสาขาประจำตำบล 1 แห่ง
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานบ้านป่าข้าวหลาม หมู่ที่ 7
คลินิกเอกชน 2 แห่ง
- บ้านเมืองกื้ด หมู่ที่ 1
- บ้านแม่ตะมาน หมู่ที่ 2
โรคติดต่ออันตราย (ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558)
เมื่อเดือนธันวาคม 2562 ได้เกิดการระบาดของโรคติดต่อทางเดินหายใจจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน เชื่อว่าไวรัสนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีต้นกำเนิดจากสัตว์ ยังไม่ทราบต้นกำเนิดแท้จริง แต่ในเดือนธันวาคม 2562 การแพร่กระจายการติดเชื้อเกิดขึ้นแทบทั้งหมดจากคนสู่คน ยืนยันแล้ว 41 รายแรก ซึ่งตีพิมพ์ในเดอะแลนซิตเมื่อเดือนมกราคม 2563 เปิดเผยว่าวันเริ่มต้นอาการวันแรกสุดได้แก่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 สิ่งพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการจาก WHO รายงานว่าอาการเริ่มต้นเร็วที่สุดคือวันที่ 8 ธันวาคม 2562 WHO และทางการจีนยืนยันการติดต่อจากคนสู่คนในวันที่ 20 มกราคม 2563 เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 อยู่ในตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ส โดยทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ และแพร่ระบาดมายังประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยอีกหลายประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ เขตการปกครองพิเศษ (ฮ่องกง ไต้หวัน มาเก๊า) สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เป็นต้น มีแนวโน้มที่สูงขึ้น และในประเทศไทยพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน เป็นระดับ 2 และยกเป็นระดับ 3 เพื่อติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ได้ประกาศชื่อว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่ไปสู่ผู้คนได้อย่างรวดเร็ว มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และถึงขั้นเสียชีวิต มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศให้การ
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการระบาดใหญ่ และขอให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดเด็ดขาดยิ่งขึ้น โรคนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก และกลายพันธ์ไปเรื่อยๆ การแพร่กระจายของเชื้อรุนแรงขึ้นกว่าสายพันธ์เดิม
ในประเทศไทยปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สะสม 173,742,426 ราย เสียชีวิต 3,736,974 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2564 ในประเทศไทย ผู้ป่วยยืนยันสะสม ตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 633,284 เสียชีวิต 5,074 ราย หายป่วยสะสม 391,815 ราย แต่ละประเทศก็ได้มีมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม รักษา เยียวยา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งวิธีการคัดกรอง ล๊อคดาวน์ประเทศ เมือง งดเที่ยวบิน จำกัดเที่ยวบิน การกักตัว การปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงสถานที่ที่เกิดโรค การใช้ชีวิตแบบใหม่ สวมใส่หน้ากากเมื่อออกดจากเคหะสถาน ที่พัก เว้นระยะห่างทางสังคม หมั่นทำความสาอดมือ หลีกเลี่ยงการไปยังพื้นที่เสี่ยง ออกกฎหมายควบคุมผู้ที่ฝ่าฝืน ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกอบกับมีสถาบัน บริษัท ประเทศต่างๆ ได้ผลิตวัคซีนเพื่อฉีดให้กับประชาชนในการป้องกันโรคนี้และได้กระจายวัคซีนไปยังประเทศต่างๆ ขณะนี้ก็ยังไม่เพียงพอ การแพร่ระบาดยังสูงขึ้นเรื่อยๆ และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะสิ้นสุดการระบาดเมื่อไหร่
- สำหรับในพื้นที่ตำบลกื้ดช้าง พบผู้ที่ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สะสม จำนวน 3 ราย ได้รับการรักษาหายแล้ว องค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้าง ร่วมกับผู้นำหมู่บ้าน หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอย่างเต็มที่
4.3 อาชญากรรม
ป้อมตำรวจ 1 แห่ง
- บ้านเมืองกื้ด หมู่ที่ 1
จุดตรวจ อปพร./ชรบ. ทุกหมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้าง ไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น ไม่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชนและของราชการ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้างก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อเป็นการป้องกันเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบล กื้ดช้าง ได้ติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณถนนสายหลัก หน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้าง รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่เนื่องจากได้เกิดสถานการณระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การระบาดของโรคดังกล่าว
จึงเป็นสถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยของประชาชนซึ่งต้องใช้มาตรการเข้มงวด และเร่งด่วนเพื่อควบคุมมิให้โรคแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง ประกอบกับมีการกักตุนสินค้าจำเป็นต่อการเฝ้าระวังและควบคุมติดตามการระบาด การป้องกัน และการรักษาโรค ตลอดจนการกักตุนเครื่องอุปโภคบริโภค และสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน ซึ่งต้องป้องกันมิให้เกิดภาวะขาดแคลนอันจะเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน กรณีจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของประชาชน และการดำรงชีวิตโดยปกติสุข พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจึงได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 โดยได้ประกาศขยายระยะเวลาการประกาศ
สถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เป็นคราวไปจันถึงปัจจุบันยังขยายระยะเวลาอยู่ได้ เพื่อควบคุมและระงับยับยั้งการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีทุกภาคส่วนรวมทั้งได้ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคให้ได้มากที่สุด แต่ได้เกิดการระบาดแบบกลุ่มก้อนขึ้นในพื้นที่ที่มีความแออัดหลายพื้นที่ ทั่วประเทศดังที่ทราบกันโดยทั่วไป ประกอบกับเชื้อโรคได้กลายพันธุ์ทำให้เกิดการติดโรคได้ง่าย และไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่เมื่อแสดงอาการจะมีความรุนแรงมาก ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวนมาก
ผู้ป่วยสะสมเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกระทั่งมีความจำเป็นต้องจัดตั้งสถานที่กักตัวผู้ติดโรค และโรงพยาบาลสนามขึ้นหลายแห่งเพื่อรองรับสถานการณ์ ทั้งยังปรากฏว่าผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากขึ้นและเร็วขึ้นจากความรุนแรงของโรค กรณีจึงจำเป็นที่จะต้องคงไว้ซึ่งมาตรการที่เข้มข้นในการเฝ้าระวังและสอบสวนโรค รวมทั้งการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงปลอดภัยด้านสุขภาพและชีวิตของประชาชนและสาธารณสุขของประเทศ
4.4 ยาเสพติด
จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 2 หมื่น 100 กว่า ตารางกิโลเมตร มี 5 อำเภอที่ชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ระยะทาง 227 กิโลเมตร ปัญหาการลักลอบลำเลียงยาเสพติดเข้าสู่พื้นที่ตอนในของประเทศไทยยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากแหล่งผลิต และแหล่งพักยาอยู่ตรงข้ามแนวชายแดนของประเทศไทย ทั้งนี้ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่พื้นที่แหล่งพักยาจะอยู่ที่อำเภอแม่แตง, สันทราย, ดอยสะเก็ด และอำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยใช้กลุ่มชาวไทยภูเขา
และนักท่องเที่ยวลำเลียงสู่ภาคใต้ของไทยมากขึ้นพื้นที่ที่จับกุมได้มากที่สุดอยู่ทีอำเภอเชียงดาว, แม่อาย และอำเภอฝาง ตามลำดับ
ภูมิประเทศตำบลกื้ดช้างที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ถือว่าเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติดที่สำคัญมาจากอำเภอเชียงดาว ฝาง แม่อาย และอำเภอไชยปราการ ซึ่งเป็นอำเภอ ที่ติดแนวชายแดนไทย-พม่า เพื่อผ่านเข้ามายังพื้นที่ชั้นในของจังหวัดเชียงใหม่ โดยในช่วง3เดือนสุดท้ายของปี 2558 ที่ผ่านมาสถิติสถานีตำรวจภูธรแม่แตง ซึ่งตั้งด่านตรวจค้นตามถนนสายหลักสามารถยึดยาบ้าได้กว่า 50,000 เม็ด และจับกุมผู้ต้องหาได้กว่า 200 ราย
4.5 การสังคมสังเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้างได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
(1) องค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้างดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งปัจจุบัน มีผู้สูงอายุ 538 คน ผู้พิการ 162 คน ผู้ป่วยเอดส์ 11 คน (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564)
(2) รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
(3) ประสานการทำบัตรผู้พิการ
(4) ดำเนินการโครงการฝึกอบรมทักษะอาชีพให้กับประชาชนทั่วไป
(5) ดำเนินการช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนกรณีเกิดสาธารณภัยในพื้นที่
(6) การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
(7) อุดหนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน
(8) จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ
(9) ประสานการให้ความช่วยเหลือของจังหวัด อำเภอ หน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน |