7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
7.1 การนับถือศาสนา
วัด 5 แห่ง
1. วัดเมืองกื้ด หมู่ที่ 1
2. วัดแม่ตะมาน หมู่ที่ 2
3. วัดสบก๋าย หมู่ที่ 3
4. วัดต้นขาม หมู่ที่ 4
5. วัดธรรมชัยมงคล(ทุ่งละคร) หมู่ที่ 6
สำนักสงฆ์ 6 แห่ง
1. บ้านห้วยกุ๊บกั๊บ หมู่ที่ 1
2. บ้านผาแดง หมู่ที่ 1
3. บ้านแม่ตะมาน หมู่ที่ 2
4. บ้านแม่ตะมาน (ดอยหนอก) หมู่ที่ 2
5. บ้านป่าไม้แดง หมู่ที่ 7
6. บ้านผาปู่จอม หมู่ที่ 8
โบสถ์คริสตจักร 12 แห่ง
1. บ้านเมืองกื้ด หมู่ที่ 1 2 แห่ง
2. บ้านผาแดง หมู่ที่ 1
3. บ้านทุ่งยั๊วะ หมู่ที่ 3 2 แห่ง
4. บ้านห้วยน้ำดัง หมู่ที่ 5
5. บ้านป่าเมี่ยง หมู่ที่ 6
6. บ้านป่าไม้แดง หมู่ที่ 7
7. บ้านแม่หมาใน หมู่ที่ 7
8. บ้านป่าข้าวหลาม หมู่ที่ 7 2 แห่ง
9. บ้านผาปู่จอม หมู่ที่ 8
ศาลเจ้า 1 แห่ง
บ้านห้วยน้ำดัง หมู่ที่ 5
7.2 ประเพณีและงานประจำปี
-ประเพณีปี๋ใหม่เมืองโดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี โดยมีกิจกรรมต่างๆอาทิเช่น การรดน้ำผู้สูงอายุ
-ประเพณียี่เป็ง จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยมีกิจกรรมต่างๆเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมเช่นการประกวดกระทง, การลอยกระทง, การประกวดซุ้มประตูป่า, การจุดประทีปบูชาพระ, การประกวดโคมลอย
-ประเพณีถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน มีพิธีการถวายเทียนเข้าพรรษาและผ้าอาบน้ำฝนให้กับวัดทุกวัดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้าง โดยมีประชาชน คณะครู นักเรียน ผู้บริหาร สมาชิกสภา เข้าร่วมกิจกรรม
-ประเพณีเดือนสี่เป็ง จัดกิจกรรมในช่วงเดือนมกราคม เป็นประเพณีทานข้าวใหม่และตานข้าวจี่ ข้าวหลาม ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้วน้ำข้างเปลือกเข้ายุ้งฉาง ก่อนที่จะเอาข้าไปสีเพื่อรับประทานจะต้องนำข้าวไปทำบุญ หรือเรียกว่า “ทานข้าวใหม่” เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปถึงเทวดาขุนน้ำ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ที่เป็นเจ้าของไร่นามาแต่เดิม
-ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า จัดกิจกรรมในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม คือการน้ำเอาฟืนมาเผา เพื่อให้พระพุทธเจ้าได้ผิงไฟ ในวันขึ้น 15 ค่ำของเดือน เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นชาวล้านนามีความเชื่อว่า พระเจ้าหรือพระพุทธรูปในวิหารก็รู้สึกหนาวเย็น เช่นเดียวกับคนเราจึงช่วยกันหาไม้ฟืนมาจุดเผาให้ความอบอุ่น
-ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ(เลี้ยงผีฝาย) กิจกรรมช่วงเดือนมิถุนายน เป็นการแสดงความกตัญญูต่อแม่น้ำลำธารต่อการทำเกษตรและอุปโภคและบริโภค ชาวบ้านจะมีการประชุมตกลงกันหาฤกษ์งามยามดี จัดเตรียมเครื่องสังเวยต่างๆไปเซ่นไหว้ผีผีขุนน้ำ
-ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา กิจกรรมช่วงเดือนสิงหาคม ประเพณีนี้คงเกิดขึ้นจากความจำเป็นที่ว่าสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้กันดังปัจจุบัน เมื่อพระสงฆ์จำพรรษารวมกันมาก ๆก็จำต้องปฏิบัติกิจวัตรเช่น การทำวัตรสวดมนต์เช้ามืดและตอนพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรมกิจกรรมเหล่านี้ล้วนต้องการแสงสว่างโดยเฉพาะ แสงสว่างจากเทียนที่พระสงฆ์จุดบูชาพระรัตนตรัยและเพื่อต้องการใช้แสงสว่างโดยตรงด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนจึงนิยมหล่อเทียนต้นใหญ่ กะว่าจะจุดได้ตลอดเวลา 3 เดือนไปถวายพระภิกษุในวัดใกล้ ๆบ้านเป็นพุทธบูชา เทียนดังกล่าวเรียกว่า เทียนจำนำพรรษา
- 25 เมษายน ของทุกๆปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้ทรงกอบกู้อิสรภาพของไทยพระมหากษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่และกล้าหาญ ในอดีตพระองค์ได้กอบกู้อิสรภาพของไทย และทำนุบำรุงบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม จะมีการจัดกิจกรรมวางพวงมาลาเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดี และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
-ประเพณีกินวอชนเผ่าลีซู กิจกรรมตรงกับวันตรุษจีน เป็นเทศกาลใหญ่จะจัดขึ้นปีละครั้ง ความเชื่อจะหยุดงานจาการทำไร่ทำสวน มาร่วมฉลอง รื่นเริงกันทั้งชุมชน 7 วัน 7 คืน จะไม่ออกจากชุมชน หนุ่มสาวที่ไปทำงานหรืองแต่งงานอยู่ต่างหมู่บ้านจะกลับมาบ้านร่วมทำพิธีกรรมในช่วงกลางวันและตอนกลางคืนจะเต้นจะคึ
-ประเพณีปีใหม่ม้ง ตรงกับ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปีจัดเป็นงานประเพณีที่ทุกคนรอคอย เนื่องจากจะเป็นการพบปะกันระหว่างกลุ่มญาติมีประเพณีขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และผู้อาวุโส เป็นวันที่หนุ่มๆสาวๆในหมู่บ้านจะได้เลือกคู่ มีการจัดการแข่งขันกีฬาประเพณีและการละเล่นต่างๆ เช่น ลูกข่าง ลูกช่วงสร้างความสนุกสนาน ไม่ลืมที่จะทำพิธีกรรม
-ประเพณีกินวอ คอประเพณีปีใหม่ของชาวลาหู่ กิจกรรมช่วงเดือนมกราคมของทุกๆปี มีการทำขนม คือ ขาวปุก และมีการนำต้นสน 4 ต้นมาปลูกกลางลานของหมู่บ้านให้ได้เป็น 4 เหลี่ยม และมีการสานตระแกรงใช้ไม้สานแล้วนำมาไว้ตรงกลางระหว่างต้นสนทั้ง 4 ต้น แล้วนำเอาอาหารที่ชาวบ้านถือว่าเป็นอาหารบวงสรวงมาไว้ที่ตะแกรง เพื่อนำมาเลี้ยงแขกที่จะมาร่วมมีการเต้นจะคึ ทุกวันระหว่างการกินวอ ประเพณีกินวอนี้จะมีทั้งหมด 8 วัน 7 คืน ในตอนกลางวันในวันที่มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน จะมีการทำอาหารเลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน
-ประเพณีชนเผ่ากระเหรี่ยง พิธีมิสซาคือพิธีของคริสตชน กิจกรรมช่วงวันที่ 25 ธันวาคม ตรงกับวันตริสต์มาส์ มีพระเยซูเจ้าเป็นเครื่องบูชาเพื่อไถ่บาปแทนมนุษย์อาศัยพระกายและพระโลหิตที่ยอมสละพลีชีพเพื่อเรา เป็นพิธีส่วนรวมในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ที่ทรงประทานพระบุตรของพระองค์ลงมาไถ่บาปแทนมนุษย์ คำว่า "มิสซา" หมายถึง "การถูกส่งไป" เพื่อประกาศข่าวดี และเป็นแบบอย่าง รวมทั้งมอบตนเอง และชีวิตให้มีคุณค่าต่อคนอื่น ๆ เช่นเดียวกันกับที่เราได้รับจากพระเจ้าเรียกพิธีกรรมในปัจจุบันว่า “พิธีบูชาขอบพระคุณ”หลักจากทำพิธีแล้วก็จะมีการบวชปลาเพื่ออนุรักษ์พันธ์ปาที่หายาก และบวชป่าเพื่อไม่ให้คนตัดต้นไม้
-ประเพณีโล้ชิงช้าง หรือ งานเทศกาลปีใหม่โล้ชิงช้าของชาวอาข่า (อีก้อ)จัดกิจกรรมช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนเป็นการรำลึกถึงพระคุณแห่งเทพธิดา "อึ่มซาแยะ" ผู้ประทานความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเพื่อเป็นการฉลองให้กับพืชผลที่มีความเจริญงอกงามรอเก็บเกี่ยว รำลึกและให้เกียรติสตรี พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ, การเลี้ยงฉลอง, การเต้นรำ ซึ่งแต่ละชุมชนจะไม่ตรงกัน เนื่องจากการกำหนดวันจัดพิธีกรรมต้องดูความเหมาะสมของวันที่จะเริ่มทำพิธี แต่จะต้องเป็นวันดีและเข้ากันได้กับผู้นำชุมชน
7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
1. ภาษาคำเมือง และตัวเขียนเมือง
2.ภาษาลาหู่
3.ภาษาลีซอ
4.ภาษาม้ง
5.ภาษากะเหรี่ยง
6.ภาษาอาข่า
7.4 OTOP สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
1.เครื่องจักรสานไม้ไผ่และหวายบ้านลาหู่ และพวงมาลัยไม้ไผ่ ตุ้มหู กิ๊บ ปิ่น จากไม้ไผ่
2.ของที่ระลึกชนเผ่าลีซอ
3.ผ้าทอชนเผ่ากระเหรี่ยง
4.ผลิตภัณฑ์ผ้าปักชนเผ่าม้ง
5.ลูกประคบ สมุนไพรแช่มือแช่เท้า
6.ผลิตภัณฑ์ชาไผ่จืด ชาหญ้าหวาน และสมุนไพรอบแห้ง
7.ผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาชนเผ่า และกระเป๋าผ้า
|